“มีคนเคยบอกว่า การทำงานที่นี่เหมือนเราได้ทำบุญเพราะทุกครั้งที่เราทำงานมันคือการได้ช่วยชีวิตเด็ก“
จากเด็กหญิงคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตวันต่อวันแบบไร้จุดหมาย สู่ #นักวิทยาศาสตร์การแพทย์…
นางสาวเอื้อมพร นวนใหม่ หรือ เอื้อม อายุ 30 ปี เติบโตมาจากครอบครัวเล็กๆ ที่มี พ่อ แม่ และน้องชาย อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพร เอื้อมเล่าว่า พ่อแม่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ฐานะทางบ้านเราค่อนข้างลำบาก การใช้ชีวิตก็เป็นแบบวันต่อวันกันไป จนวันหนึ่งได้รับโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต คือ การได้รับทุนการศึกษาจาก #มูลนิธิดำรงชัยธรรม
เอื้อมเป็นนักเรียนทุนรุ่นที่ 3/2544 ได้รับต่อเนื่องมาจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชา วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นบัณฑิตทุนรุ่น ที่ 9/2553
เอื้อมเล่าว่า ..ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปี ของการเป็นนักเรียนทุนได้มีการพัฒนาตัวเอง ได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ได้รับการปลูกฝังเรื่องความเสียสละให้สังคมจากค่ายอาสา และกิจกรรมต่างๆจากทางมูลนิธิฯ สิ่งต่างๆที่เอื้อมได้จากการเป็นผู้รับ ได้ซึมซับการเป็นผู้ให้แบบไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่มีโอกาสเอื้อมจะไม่ลังเลที่จะทำ…
ในวันนี้เอื้อมได้เข้ามาทำงานในตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ศูนย์ปฏิบัติการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
หลายคนคงสัยสัยว่ามีหน้าที่อะไร? คำตอบก็คือมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปัญญาอ่อนหรือภาวะทุพลภาพของร่างกายและสมอง รวมไปถึงการค้นคว้าและวิจัยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมอื่นๆที่สำคัญ เป็นการทำงานที่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ฟังดูแล้วอาจจะยังงงกันอยู่ใช่มั้ยคะ เพื่อให้เห็นภาพ เอื้อมอธิบายให้ฟังว่า
…ในแต่ละวันจะมีรพ.ทั่วประเทศส่งตัวอย่างเลือดของเด็กแรกเกิดอายุประมาณ 2 วัน-1สัปดาห์ มาที่แลปนี้ โดยตัวอย่างจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ตามช่วงเวลาต่างๆแต่ช่วงสุดท้ายที่ไปรษณีย์มาส่งคือบ่ายสามครึ่งจะเยอะที่สุด เฉลี่ยวันละ 2-3 พันตัวอย่าง ซึ่งในทางการทดสอบจะมีกระบวนการต่างๆมากมาย ทิ้งตัวอย่างนี้ข้ามคืนได้16ชม. ทำให้นักวิทยาศาสตร์อย่างเอื้อมต้องมาถึงแลปตั้งแต่เจ็ดโมง เพราะต้องรีบทดสอบทันที ถ้าเกินจากเวลานั้นผลมีโอกาสคลาดเคลื่อน และการทดสอบนี้
ใช้เวลาวิเคราะห์ผลในแลปอีก 5-6 ชม. หลังจากนั้นจะส่งผลเข้าระบบออนไลน์ให้รพ.ดูผลของเด็กๆ ถ้าผิดปกติหรือมีแนวโน้มความเสี่ยง ก็ต้องทดสอบซ้ำใหม่อีกรอบเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องที่สุด และจะต้องส่งต่อแพทย์ให้ทราบ เพื่อหาทางป้องกันการรักษา …
เอื้อมเล่าให้ฟังต่อว่า #ดีใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานที่นี่เพราะได้ช่วยชีวิตเด็กๆ จากความเสี่ยงในการเกิดโรค2โรคนี้ คือการตรวจคัดกรองโรค PKUหรือภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria: PKU)โดยการตรวจคัดกรองโรค PKU ทำให้สามารถวินิจฉัยเด็กที่เป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่กำเนิด แต่ยังไม่แสดงอาการ ทำให้แพทย์สามารถหาแนวทางการรักษาป้องกันไม่ให้เกิดเป็นภาวะปัญญาอ่อนได้ และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ( Congenital Hypothyroidism: CHT)ที่ทำให้ เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เมื่อตรวจคัดกรองระดับ TSH เบื้องต้นแล้ว พบความผิดปกติก็แพทย์จะมีแนวทางการรักษาต่อไป
นอกจากหน้าที่หลักในการวิเคราะห์ผลแลปแล้ว #เอื้อมยังเป็นหนึ่งในทีมวิจัย ที่ตอนนี้กำลังคิดค้นวิธีการทดสอบของโรคอื่นๆที่มีโอกาสเกิดในเด็กเพื่อ#หวังว่าจะได้มีส่วนช่วยชีวิตเด็กๆได้มากยิ่งขึ้น
หลายคนชอบคิดว่างานในห้องแลปเป็นงานน่าเบื่อ แต่เอื้อมกลับบอกว่า “ #เอื้อมไม่เหนื่อยที่จะทำเพราะงานเอื้อมไม่น่าเบื่อแบบที่หลายๆคนคิดสำหรับเอื้อมงานแลปมีปัญหามาให้เราแก้ในทุกๆวัน แค่สนุกไปกับมันและที่สำคัญจะต้องรอบคอบที่สุดเพราะนั่นหมายถึงชีวิตของเด็กๆและครอบครัวของเค้า”
ฟังจากงานที่เอื้อมเล่าแล้ว ดูเหมือนว่าเป็นงานใหญ่ระดับชาติเลยก็ว่าได้ เอื้อมบอกว่า…
“ #ดีใจที่วันนี้ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ได้ทำตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ และได้ทำตามความฝัน
คือการได้เป็น “ #ผู้ให้” ในรูปแบบที่จะทำได้โดยไม่ต้องรอโอกาสอีกต่อไป เพราะในทุกๆวันทำงาน
นั่นคือ การให้ ทั้งหมดนี้ ต้อง #ขอขอบคุณคุณไพบูลย์ดำรงชัยธรรม เพราะ การให้ ของท่านในวันนั้น
ทำให้เราได้มีโอกาสได้เป็น ผู้ให้ ในวันนี้ เช่นกัน”