ดร.แขก
“ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านและช่วยหมู่บ้านในหลักวิชาการที่ตัวเองถนัด
เช่น ให้คำแนะนำ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปา งานวิจัยที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
ก็เกี่ยวเนื่องกับการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมวัสดุทางโครงสร้าง
อาทิเช่น การผลิตคอนกรีตเซลลูล่าร์ซึ่งเป็นหน่วยการผลิตขนาดเล็ก
เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กหรือหมู่บ้านนำไปใช้งานได้“
ดร.อุเทน ลีตน (ดร.แขก) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เล่าให้ฟังว่า เดิมเกิดที่ ต.นาดินดำ จ.เลย
ส่วนใหญ่มีญาติพี่น้องอยู่ที่ จ.เลย เป็นเด็กต่างจังหวัดคนหนึ่ง
ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน
แต่เพราะได้รับโอกาสทางการศึกษาในมัธยมตอนต้นและมัธยมตอนปลาย
รวมทั้งระดับปริญญาตรีในรั้วมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและคุณภาพอย่าง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
จาก #มูลนิธิดำรงชัยธรรม โดยคุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ถ้าย้อนกลับไปในเกือบ 20 ปีที่แล้วถ้าไม่ได้รับโอกาสนี้คงไม่ได้ตัดสินใจเรียนต่อ
ในคณะที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์ในการเรียนสูง
การได้รับทุนจึงรู้สึกภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตถ้าไม่มีมูลนิธิดำรงชัยธรรมในวันนั้น
คงไม่มี ดร.อุเทน ลีตน ในวันนี้
เพราะทุกครั้งที่ท้อหรือหมดกำลังใจในการเรียนก็นึกถึงมูลนิธิที่เค้าให้โอกาสเรา
และคิดว่าเราโชคดีที่สุดแล้วจึงมีแรงผลักดันให้เรียนประสบความสำเร็จได้อย่างดีเยี่ยม
อีกทั้งขอขอบพระคุณ คุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และคณะกรรมการ ทุกท่าน
ที่ทำให้เด็กขาดโอกาสคนหนึ่งได้สร้างเนื้อสร้างตัวได้ประสบความสำเร็จในการเรียน
หน้าที่การงาน จนถึงทุกวันนี้ คำกล่าวในการขอบคุณที่เป็นนักเรียนทุนมา 8 ปี
จดหมายทุกฉบับที่รายงานทุกเดือน (จดหมายประมาณ 96 ฉบับ)
จะเห็นว่าผมกล่าวขอบคุณ คุณไพบูลย์ทุก ๆ ฉบับ
ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นคำที่นักเรียนทุน ทุกคนต้องกล่าวให้ท่านจริง ๆ
ในการสร้างคนเพื่อสังคม
ตลอด 8 ปีที่ได้รับทุน ทางมูลนิธิดำรงชัยธรรม
มีเจ้าหน้าที่นักเรียนทุนคอยกำกับดูแล ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ในการเรียน
และการใช้ชีวิตให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ซึ่งความผูกพันกับมูลนิธินี้เป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งตั้งใจเรียน
อยู่ในกรอบเกณฑ์บ้านเมือง กฎหมายและวัฒนธรรมที่ดีงาม
งานที่ทำในปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทยาลัย
มีหน้าที่ทำการสอนนักศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ ของสาขาวิชากำหนด
สอนในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ผลิตบัณฑิตสู่สังคม
สถานประกอบการณ์ โรงงานหน่วยงานของรัฐและเอกชน
ตามความต้องการของตลาดแรงงาน
ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองโดยการเข้าอบรมตามหลักสูตรต่าง ๆ
งานวิจัยที่ไปสู่สังคมในด้านวัสดุ มีโอกาสเข้าร่วมโครงกา
รและช่วยพัฒนาระบบผสมคอนกรีตเซลล์ลูล่าอัตโนมัติ (Cellular Concrete: CLC)
โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพ
ของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองนครราชสีมา”
ได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ดำเนินงานวิจัย
จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2560
ด้านงานวิจัยที่ทำจะสอดคล้องกับงานในชุมชนประเทศให้มากขึ้น
โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงตามคำกล่าวจาก “หิ้งสู่ห้าง”